บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดช่วยกันวางแผนว่าจะเขียนแผนหน่วยการเรียนรู้เรื่องอะไรดีโดยการเขียนแผนแต่ละหน่วยให้สอดคล้องกับ 6 กิจกรรมหลัก / สัปดาห์ หน่วยการเรียนรู้ที่แต่กลุ่มเลือก มีดังนี้
1.หน่วยยานพาหนะ
2.หน่วยผีเสื้อ
3.หน่วยเห็ด
4.หน่วยผัก
5.หน่วยส้ม
6.หน่วยกล้วย
กิจกรรมกลางแจ้ง
กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรจัดให้เด็กได้เล่นเช่น
1. การเล่นเครื่องเล่นสนาม
2. การเล่นทราย
3. การเล่นน้ำ
4. การเล่นสมมติในบ้านจำลอง
5. การเล่นในศูนย์ช่างไม้
6. การเล่นกันอุปกรณ์กีฬา
7. การเล่นเกมการละเล่น
จุดประสงค์
1.พัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ของอวัยวะต่างๆ
2.ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี
3.ส่งเสริมให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด
4.รู้จักปรับตัว เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.เรียนรู้การระวังรักษาความปลอดภัยทั้งตนเองและผู้อื่น
6.รู้จักการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
กิจกรรม
1.เด็กและครูร่วมสร้างข้อตกลง กติกาในการเล่น
2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเล่นให้พร้อม
3.การสาธิตการเล่นสนามบางชนิด
4.ให้เด็กเลือกเล่นอิสระตามความสนใจ
5.ขณะเด็กเล่นครูต้องคอยดูแลความปลอดภัยและสังเกตพฤติกรรมการเล่น
6.เมื่อหมดเวลาให้เด็กช่วยเก็บของเข้าที่และทำความสะอาดร่างกาย
ข้อเสนอแนะ
1.หมั่นตรวจเครื่องเล่นสนามและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้การได้อยู่เสมอ
2.ให้โอกาสเด็กเลือกเล่นกลางแจ้งอย่างอิสระทุกวัน
3.ขณะเด็กเล่นครูต้องดูแลอย่าใกล้ชิด
4.หลังเลิกกิจกรรม ควรให้เด็กได้พักผ่อนหรือนั่งพัก
กิจกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกความคิกริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การแกะ ตัด ปะ การพิมพ์ภาพ หรือวิธีอื่นๆที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์
จุดประสงค์
1.ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
2.ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด
3.ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือ และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
4.ส่งเสริมการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.ส่งเสริมคุณธรรมในด้านความอดทน การรอคอย ความรับผิดชอบ และความมีวินัยในตนเอง
6.ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
7.ฝึกทักษะการสังเกต การคิดและการแก้ปัญหา
กิจกรรม
1.จัดโต๊ะและวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม โดยให้เด็กรับผิดชอบช่วยจัดอุปกรณ์
2.สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมให้มีความสดชื่น แจ่มใส
3.ให้เด็กเสือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจของตน
4.สร้างข้อตกลงในการเปลี่ยนหมุนเวียนทำกิจกรรม
5.แนะนำอุปกรณ์วิธีใช้และคอยดูแลให้คำปรึกษาในการทำกิจกรรม
6.เมื่อทำงานเสร็จต้องให้เด็กเก็บวัสดุ เครื่องมือ เครื่องใช้ และนำเสนอผลงานของตน
ข้อเสนอแนะ
1. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ควรพยายามหาวัสดุท้องถิ่นมาใช้ก่อนเป็นอันดับแรก
2.ก่อนให้เด็กทำกิจกรรมต้องอธิบายวิธีใช้วัสดุที่ถูกต้องพร้อมทั้งสาธิตให้ดู
3.เก็บผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูลสังเกตพัฒนาการของเด็ก
4.หากพบว่าเด็กคนใดสนใจทำกิจกรรมอย่าเดียวตลอดเวลาควรกระตุ้นเร้าและจูงใจให้เด็กเปลี่ยนทำกิจกรรมอื่นบ้าง
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ และอุปกรณ์อื่นๆประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ รู้จังหวะและความคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
จุดประสงค์
1.พัฒนาอวัยวะทุกส่วนให้มีความสัมพันธ์ในขณะเคลื่อนไหว
2.เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.กล้าแสดงออกและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.ฝึกทักษะในการฟังดนตรี หรือจังหวะต่างๆ
5.รู้จักปรับตัวการทำกิจกรรมและความร่วมมือในกลุ่ม
6.ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
7.พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่ง ข้อตกลงและปฏิบัติตามได้
วัสดุอุปกรณ์
1.เครื่องประกอบจังหวะเช่น รำมะนาว กลอง กรับ ฉิ่ง ฯลฯ
2.แถบบันทึกเสียงเพลง เครื่องเล่นเทป
3.อุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหว เช่น ห่วงยาง แถบผ้า ฯลฯ
กิจกรรม
1.ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจอง และเคลื่อนไหวตามบทเพลง คำกลอน คำคล้องจอง
2.เคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยแบ่ง2 ประเภท คือ เคลื่อนไหวอยู่กับที่ และเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
3.เล่นเครื่องเล่นดนตรีง่ายๆประเภทเคาะ เช่น กรับ รำมะนา กลอง ฯลฯ และเคลื่อนไหวประกอบ
4.การฝึกจังหวะ โดยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
5.ให้เด็กเคลื่อนไหวตามความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้อุปกรณ์ประกอบในการเคลื่อนไหวเช่น ห่วง แถบผ้า ฯลฯ
ข้อเสนอแนะ
1.สร้างบรรยากาศให้เด็กเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน และมีความเป็นกันเอง
2.ควรเริ่มกิจกรรรมการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระและมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากยากมากนัก
3.ควรให้เด็กแสดงออกด้วยตนเองอย่าอิสระ และไม่ควรบังคับ ถ้าเด็กไม่ยอมเข้ากิจกรรมควรให้เวลาและให้โอกาสจนกว่าเด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรม
เกมการศึกษา
เกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ สามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตคิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสีรูปร่างจำนวน ฯลฯ
จุดประสงค์
1.ส่งเสริมการสังเกตเปรียบเทียบ
2.ส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับดวงตา
3.ส่งเสริมการคิดหาเหตุผลและตัดสินใจแก้ปัญหา
4.ปลูกฝังให้มีคุณธรรมต่างๆเช่นความรับผิดชอบ การแข่งขัน ฯลฯ
กิจกรรม
1.ในกรณีที่เป็นเกมใหม่ครูควรแนะนำหรือสาธิตอธิบายวิธีการเล่นเกมให้เด็กทราบ
2.ให้เด็กหมุนเวียนเข้ามาเล่นเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลตามความเหมาะสม
3.ขณะเด็กเล่นครูมีหน้าที่เพียงแนะนำ
4.เมื่อเล่นเกมแต่ละชุดเสร็จแล้วควรฝึกให้เด็กเก็บให้เรียบร้อย
ตัวอย่างเกมการศึกษา
1. เกมจับคู่
- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพเงา
- จับคู่ภาพสัมพันธ์
- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
- จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ
ข้อเสนอแนะ
1. การเล่นเกมการศึกษาในระยะแรกควรเริ่มใช้ของจริง
2. การเล่นเกมในแต่ละวันอาจให้เล่นทั้งเกมชุดใหม่และชุดเก่า
3. อาจให้เด็กหมุนเวียนเล่นเกมตามความเหมะสม
4. การเล่นเกมเมื่อเลิกแล้วควรจัดเก็บรวมไว้เป็นชุดๆ
กิจกรรมเสรี / เล่นตามมุม
กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ ภายในศูนย์เด็กเล็กเช่น ศูนย์บล็อก ศูนย์หนังสือ ศูนย์ร้านค้า ศูนย์บ้าน เป็นต้น ศูนย์ต่างๆเหล่านี้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
จุดประสงค์
1. ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2. ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นรู้จักรอคอยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
4. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม
5. ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
กิจกรรม
1.แนะนำศูนย์เรียนใหม่ให้เด็กรู้จักและเสนอแนะวิธีใช้เล่นเครื่องเล่นบางชนิดเช่นแว่นขยายเครื่อง
ชั่งฯลฯ
2. สร้างข้อตงลกในการเล่นร่วมกัน
3. เปิดโอกาสให้เด็กคิดวางแผนตัดสินใจเลือกเล่นอย่างอิสระโดยมีครูคอยสังเกตพฤติกรรมการเล่น
พร้อมทั้งให้คำชี้แนะและช่วยเหลือเด็กในการเล่น
ข้อเสนอแนะ
1.การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระโดยเลือกทำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างน้อย1-2อย่างในแต่ละวัน
2.ขณะเด็กเล่นควรสังเกตพฤติกรรมของเด็กและดูแลอย่างใกล้ชิด
3.หากศูนย์ใดมีเด็กมากเกินไปควรให้เด็กมีโอกาสคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4.สื่อเครื่องเล่นในแต่ละศูนย์ ควรสับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมเป็นระยะเพื่อไม่ให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กเข้าใจเนื้อหาและเรื่องราวแผนการจัดประสบการณ์
2.ส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง พูด และการถ่ายทอดเรื่องราว
3.ฝึกความมีระเบียบวินัย มารยาทในการฟัง พูด และลักษณะนิสัยที่ดี
4.กล้าแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กิจกรรม
1.การสนทนา อภิปราย เป็นกานส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาในการพูด การฟัง รู้จักแสดงความคิดเป็นและยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
2.การเล่านิทาน เป็นการเล่าเรื่องต่างๆ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เน้นการปลูกฝังให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม
3.การสาธิต เป็นการจัดกิจกรรมที่ต้องการให้เด็กได้สังเกตและเรียนรู้ตามขั้นตอน
4.การทดลอง/ปฏิบัติ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้รบประสบการณ์ตรงเพราะได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง ฝึกการสังเกต การคิดแก้ปัญหา
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ด้วยการพาเด็กไปทัศนศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัว
6.การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นการให้เด็กเล่นสมมุติตนเองเป็นตัวละครต่างๆตามเนื้อเรื่อง
7.การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง เป็นการจัดให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ
ข้อเสนอแนะ
1.ควรยึดหลักการจัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด
2.ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมควรใช้คำถามปลายเปิดที่ชวนให้เด็กคิด
3.ช่วงระยะเวลาที่จัดกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสนใจของเด็กและความเหมาะสมของกิจกรรมนั้นๆ
สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
ศึกษาวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้อง การจัดกิจกรรมต้องมีความหลากหลายและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำงานเวาลาที่ได้รับมอบหมายงานต่างๆ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนครบตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการพูดคุยกันเสนอความคิดที่อาจารย์มอบหมายงานให้
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ติดประชุม แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำในห้องเรียนอาจารย์อธิบายงานได้ชัดเจนมากค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น