My Melody Kawaii

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.



     







         วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการจัดการเรียนการสอนที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายงาน เพื่อแรกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
กลุ่มที่ 1 การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่  (Montessori) (กลุ่มของดิฉันเองค่ะ)







           การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการนำวิธีการสอนเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรือเล่นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เลือกเอง ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ เด็กสามารถประสมคำ อ่านคำและฝึกเขียนหนังสือได้ด้วยตนเองตามความสนใจตั้งแต่อายุ 4-5 ปี

             

                 การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่คือ

             การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ
  1. ด้านทักษะกลไก (Motor Education) หรือกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ความรับผิดชอบและการประสานสัมพันธ์ให้สมดุล เด็กจะทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของชีวิตประจำวัน การดูแลตนเอง การจัดการเกี่ยวกับของใช้ในบ้าน เช่น การตักน้ำ การตวงข้าว การขัดโต๊ะไม้ การเย็บปักร้อย การรูดซิป การพับและเก็บผ้าห่ม หรือมารยาทในการรับประทานอาหารเป็นต้น
  2. ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเกี่ยวกับมิติ รูปทรง ปริมาตรของแข็ง ของทึบ อุณหภูมิ เด็กจะได้รู้จักทรงกระบอก ลูกบาศก์ ปริซึม แขนงไม้ ชุดรูปทรงเรขาคณิต บัตรประกอบแถบสี กระดานสัมผัส แผ่นไม้ แท่งรูปทรงเรขาคณิต กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฏิบัติผ่านการเล่น เช่น หอคอยสีชมพู แผ่นไม้สีต่างๆ เศษผ้าสีต่างๆ รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก ระฆัง กล่อง และขวดบรรจุของมีกลิ่น แท่งไม้สีแดงและแท่นวางเป็นขั้นบันได ถุงที่ซ่อนสิ่งลึกลับ เป็นต้น
  3. ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) หรือกลุ่มวิชา การ มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา เตรียมตัวด้านการอ่านการเขียนโดยธรรมชาติ การประสมคำ คณิตศาสตร์ การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การประพันธ์เพลง การเคลื่อนไหวมือ เด็กจะเรียนเกี่ยวกับตัวเลข กล่องชุดอักษร ชุดแผนที่ เครื่องมือ โน้ตดนตรี กล่องและแท่งสี อักษรกระดาษทราย แผ่นโลหะชุดรูปทรงเรขาคณิต ชุดแต่งกาย เป็นต้น กิจกรรมที่จัดสำหรับเด็ก เช่น การคูณ การหารยาว ทศนิยม การแนะนำเลขจำนวนเต็ม 10 ด้วยลูกปัด แบบฝึกหัดการบวกและการลบ การเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ เรียนเรื่องส่วนที่เป็นพื้นดิน เช่น ที่ราบ ภูเขา เกาะ แหลม ฯลฯ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ เช่น น้ำตก ทะเลสาบ อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ

                 ที่มาการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่


               การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เกิดจากแนวคิดของมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori) แพทย์หญิงชาวอิตาลีที่มีความเชื่อว่า “การให้การศึกษากับเด็กในวัยเริ่มต้น ไม่ใช่การนำความรู้ไปบอกเด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการทางธรรม ชาติของเขา” มอนเตสซอรี่เริ่มต้นนำแนวการสอนนี้ไปใช้กับเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้า โดยประดิษฐ์สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญในการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยเน้นการฝึกฝนทางด้านประสาทสัมผัสจับต้อง บิดหรือหมุนด้วยมือ เพื่อให้สมองทำหน้าที่ตอบสนองได้ เด็กๆ จะได้เรียนรู้ความสำเร็จ ความล้มเหลว รู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง เกิดแรงผลักดันที่เด็กทำให้เกิดขึ้นเอง และมีระเบียบวินัยที่เกิดจากความเป็นอิสระของเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องมีคำติชมของผู้ใหญ่ หรือการให้รางวัลและการลงโทษ มอนเตสซอรี่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเมื่อเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าเหล่านั้นสามารถอ่าน เขียน สอบผ่านและเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ และยังใช้ได้ผลดีกับเด็กปกติอีกด้วย วิธีการสอนของมอนเตสซอรี่จึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก

การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีลักษณะอย่างไร?

       การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีลักษณะส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองของเด็ก เน้นการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด โดยสภาพของโรงเรียนจัดสิ่งแวดล้อมให้เสมือนบ้าน มีห้องต่างๆ ที่บ้านควรมี เช่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น มีห้องโถงใหญ่ที่จัดมุมการเรียนรู้ไว้ตอบสนองความต้องการของเด็ก ได้แก่ มุมฝึกประสาทสัมผัส มุมภาษา มุมคณิตศาสตร์ มุมดนตรี มุมศิลปะ มุมที่จะสอนสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และมุมภูมิศาสตร์ เป็นต้น ห้องนี้เปรียบเสมือนห้องทำงานของเด็ก จะมุ่งเน้นทางด้านสติปัญญา เด็กๆ จะอยู่ในห้องนี้เพื่อทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ออกแบบไว้สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ที่จะพัฒนาทางสติปัญญาเด็กมากกว่าการสอน เช่น เครื่องเรือน ชุดรับแขกที่เหมาะสำหรับให้เด็กเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดสะดวก มีโต๊ะหลายแบบทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลมทั้งเล็กทั้งใหญ่ ส่วนสื่อที่จัดไว้ที่มุมต่างๆในห้องนั้น เป็นสื่อที่มอนเตสซอรี่ได้พัฒนาขึ้นมา จัดไว้เป็นชุดๆ ด้วย กัน โดยให้แต่ละมุมเป็นเรื่องของการศึกษาแต่ละชุด โดยรอบๆ บ้านมีบริเวณให้เด็กได้เดิน มีสวนให้เด็กได้นั่งพักและทำกิจกรรม เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

หลักการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีดังนี้

  • จัดห้องเรียนให้เสมือนบ้านเพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่นและมั่นใจให้แก่เด็กที่เพิ่งจากบ้านมาโรงเรียนครั้งแรกและเชื่อว่าในสภาพแวดล้อมคล้ายบ้าน เด็กจะพอใจที่จะเลียนแบบ (Imitation) บทบาทต่างๆ ของผู้ที่อยู่แวดล้อมเด็กได้ง่าย
  • ให้เสรีภาพกับเด็กที่จะเลือกเล่นด้วยตนเอง เป็นการสร้างความมั่นใจต่อตนเอง เด็กจะได้โอกาสแสดงความสามารถของตนเองให้คนอื่นรับรู้ได้ ตลอดจนสามารถที่จะฝึกฝน สร้าง สรรค์สิ่งต่างๆ และปรับชีวิตตนเองโดยไม่รู้ตัว มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กมีจิตใจที่ซึมซับสิ่งต่างๆจากสิ่งแวดล้อม (Absorbent mind) ได้เหมือนฟองน้ำ และเชื่อว่ามนุษย์เราเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง
  • จัดสภาพการณ์ต่างๆที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำ แนะนำ ปรึกษา เตรียมการสอนและจัดสิ่งแวดล้อมอย่างมีจุดมุ่งหมาย เด็กจะต้องติดตามดูการสาธิตการใช้อุปกรณ์ของครูแล้วจึงจะตัดสินใจเองว่าจะเลือกทำงานหรือฝึกหัดอุปกรณ์ชิ้นใด ลักษณะการเรียนรู้
  • ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กทุกด้าน ทั้งการสังเกต การจับต้อง การลูบคลำ การฟังเสียง การดมกลิ่นและการชิมรส เพื่อการเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญา
  • ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของตนที่ได้รับจากพันธุกรรมจากพ่อแม่ จากการอบรมเลี้ยงดู และจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เขาได้ปะทะสัมพันธ์ เด็กแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนจึงไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะทำอะไรได้เหมือนกันหมด แต่พยายามหาทางส่งเสริมให้ทุกคนอย่างเหมาะสม

การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีประโยชน์ต่อเด็กปฐม


  • เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ตนเอง (Self-education / Auto-education) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเข้าใจตนเองในการเลือกวิธีการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้
  • เด็กสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีเพราะหลักสูตรมอนเตสซอรี่ออกแบบโดยการเลียนแบบชีวิตจริง
  • เด็กเรียนด้วยความสุข เพราะเป็นจัดการเล่นปนเรียน สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
  • เด็กได้เข้าสังคมกับเพื่อน ให้เด็กที่มีความแตกต่างกันเรียนรู้ที่อยู่ร่วมกัน ให้ความช่วยเหลือกัน เพราะการเรียนแบบจัดกลุ่มเด็กหลายอายุ รวมกลุ่มกัน
  • การเรียนที่มุ่งให้เด็กทำกิจกรรมจนสำเร็จด้วยตนเอง ไม่มีการแข่งขันเปรียบเทียบ เด็กจะรู้สึกท้าทายตนเอง ไม่เครียด ไม่เบื่อหน่ายการเรียน

สถานศึกษาใดที่จัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

  •  โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว (124 ซอยระนอง 1 ถนนพระราม 5 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร)
  • สถานพัฒนาเด็กในมูลนิธิพีระยานุเคราะห์
  • โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต (34 ซ.วชิรธรรมสาธิต 55 หมู่บ้านอิมพีเรียล พาร์ค สุขุมวิท 101/1 พระโขนง กรุงเทพมหานคร)
  • โรงเรียนอนุบาลยุวมิตร เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
  • โรงเรียนมอนเตสซอรี่พัทยา
  • โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ถ.นครอุทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เปิดทดลองสอน 1 ห้องเรียน





 กลุ่มที่ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf)












         นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟ มีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) โรงเรียนแนววอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยการสนับสนุนของเอมิล มอลล์ (Emil Molt) การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูวอลดอร์ฟจึงเริ่ม ต้นยามเช้าด้วยการมาแต่เช้าเพื่อเตรียมห้องเรียน และร่วมกันท่องบทกลอน เพื่อย้ำเจตจำนงความตั้งใจในการปฏิบัติอาชีพครู และบางครั้งในบางโอกาส ในตอนเย็น ครูก็จะท่องกลอนเพื่อนำพาจิตใจให้สงบ ครูวอลดอร์ฟรุ่นพี่ๆจะแนะนำครูรุ่นน้องเสมอว่า หากเธอมีปัญหาที่แก้ไขได้ยากกับเด็กๆในห้องเรียนของเธอ ควรพาปัญหานี้กลับไป หลับฝันไปกับปัญหานี้ เผื่อว่า...ในยามค่ำคืน โลกจิตวิญญาณที่เธอได้สัมผัสยามที่เธอหลับ จะช่วยเธอได้..ด้วยเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ หากเริ่มต้นด้วยความตั้งใจ มีเจตจำนงอันมุ่งมั่นเพื่อจะทำสิ่งนั้น การงานเหล่านั้นย่อมขับเคลื่อนต่อไปได้เหมือนล้อหมุนได้ขยับขับออกจากที่จอดแล้ว ระหว่างทางเป็นประสบการณ์ที่น่าเก็บเกี่ยว เพลิดเพลินเผชิญอุปสรรคไปอย่างคนรู้ตัว ฝึกสติไปกับการงานที่ทำตรงหน้า ยิ้มรับกับโชคชะตาที่ได้มาเดินในเส้นทางสาย “ ครู ”

บทกลอนสำหรับรับอรุณตอนเช้า

เรามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ
และขอให้การปฏิบัติของเรานั้น
ได้รับการอำนวยพรจากโลกแห่งจิตวิญญาณ
เข้ามาสู่วิญญาณและจิต สู่ชีวิตและร่างกาย
เพื่อการต่อสู้บากบั่น เพียรพยายาม
ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ของเรา
แปลจากบทกลอน ของ รูดอร์ฟ สไตเนอร์
บทกลอนสำหรับสำหรับสนทยา ตอนเย็น
ณ ยอดเขาสูงตระหง่าน เงียบสงัด
เพียงยอดไม้สะบัดพริ้วแผ่วเบา
นกน้อยสงบนิ่งในไพรเนา
รอวันเรา......สงบเงียบในไม่ช้า
แปลจากบทกลอน ของ รูดอร์ฟ สไตเนอร์

 
การศึกษาแนววอลดอร์ฟคือ

         นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟมีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy)โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner 1861-1925) ได้นำมาจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย (Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ (Spirit)ให้บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม (Beauty) ความจริง (Truth) แนวคิดของมนุษยปรัชญาที่เป็นรากฐานสำคัญในการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ เชื่อว่า เมื่อมองดูการเกิดและเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เราจะเห็นได้ว่า กาย (Body) เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้ในโลก ส่วนจิตวิญญาณ (spirit) เป็นจิตเดิมแท้ของเด็กเองที่ มาจากโลกเบื้องบน และเชื่อมโยงกันด้วยวิญญาณ (Soul) พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยให้การเชื่อมโยงนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกลม กลืน ความสำคัญของครูในอนุบาลวอลดอร์ฟ จึงต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ “เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood) และภาวะกึ่งฝัน (Dreamy stated) ที่มีอยู่ในวัยเด็ก การศึกษาจึงเสมือนการทำหน้าที่ปลุกให้เด็กค่อยๆตื่นขึ้นมาในโลก หาวิธีเชื่อมโยงเด็กสู่โลกที่เขาได้ลงมาเกิด ครูยังต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ ตลอดจนพลังธรรมชาติของโลก คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ครูได้นำมาประสานในกิจกรรมต่างๆในอนุบาลวอลดอร์ฟอย่างมีศิลปะ เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงของโลก และแบ่งขั้นพัฒนาการของเด็ก ดังนี้    
  • (0 – 7 ปี) กาย (Body) พัฒนาผ่านพลัง เจตจำนง (Will) การมุ่งมั่นลงมือทำให้สำเร็จ
  • (7 – 14 ปี) จิต (Soul) พัฒนาผ่านความรู้สึก (Feeling) เข้าถึงความงาม และศิลปะแบบต่างๆ
  • (14 – 21 ปี) จิตวิญญาณ (Spirit) พัฒนาผ่านความคิด (Thinking) การตระหนักรู้ ในคุณธรรม ความดี
     ครูอนุบาลยังต้องให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับอายุและความสามารถตามวัยของเด็ก ให้เกิดความสม ดุลกัน เกณฑ์อายุของระดับอนุบาลวอลดอร์ฟ คือ ก่อน 7 ขวบ หรือก่อนฟันแท้จะขึ้น มนุษยปรัชญายังได้เผยภาพลักษณ์ของมนุษย์อันประกอบไปด้วย กาย 4 กาย ได้แก่ ร่างกาย กายพลังชีวิต กายความรู้สึก กายตัวตน ถึงแม้ว่ากายทั้ง 4 จะมาพร้อมกันเมื่อคนเราเกิดมาในโลก แต่ก็ค่อยๆเผยออกมาทีละกายทุกๆรอบ 7 ปี จนเด็กอายุ 21 ปี จึงมีกายทั้ง 4 ครบสมบูรณ์ หากในระหว่างนั้น มีการสนับสนุนทางการศึกษาอย่างถูกต้องเหมาะสมแก่เด็ก จะยิ่งเป็นประ โยชน์ต่อการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในระดับอนุบาล เป็นขั้นตอนที่กำลังสร้างร่างกายและบ่มเพาะกายพลังชีวิต การศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ควรส่งเสริมพลังเจตจำนง (Will) ของเด็กและการรักษาจังหวะในชีวิตประจำวัน (Rhythm of life) ของเด็กให้มีความสม่ำเสมอ นอกจากนี้ มนุษย์ยังรับรู้โลกผ่านสัมผัส ทั้ง 12 แต่ในระดับอนุบาล เด็กๆรับรู้ด้วยสัมผัส 4 อย่างขั้นพื้นฐาน ได้แก่
  • สัมผัสรู้ที่ผิวกาย (Touch)
  • สัมผัสรู้พลังชีวิต (Life)
  • สัมผัสรู้การเคลื่อนไหว (Movement)
  • สัมผัสรู้ความสมดุล (Balance)
ความรู้ด้านสัมผัสรู้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อครูนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็กในอนุบาลวอลดอร์ฟ 
 
การศึกษาวอลดอร์ฟมีจุดเน้นที่ “ครู” คือมีการจัดทำคอร์สฝึกหัดครูในแนวทางวอลดอร์ฟ

ที่มาการศึกษาแนววอลดอร์ฟ

      ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โรงเรียนแห่งแรกตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของ เอมิล มอลล์ (Emil Molt) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบวอลดอร์ฟ แอสโทเรียล ที่สตุทการ์ท ประเทศเยอรมัน ถึงแม้จะทำงานด้านอุตสาหกรรม แต่เขาก็เห็นด้วยกับความคิดด้านมนุษยปรัชญาของ ดร. รูดอร์ฟ สไตเนอร์ และต้องการเปลี่ยนทิศทางของสังคมในเวลานั้น เขาได้เชิญรูดอร์ฟ สไตเนอร์ไปบรรยายแนวคิดด้านมนุษยปรัชญาให้คนงานในโรงงานฟัง จึงเกิดกลุ่มคนที่มีความเห็นร่วมกันว่า หากจะให้ความคิดเช่นนี้เป็นจริงได้ ต้องให้เกิดขึ้นในคนรุ่นหลัง เขาจึงจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในโรงงาน ชื่อโรงเรียนวอลดอร์ฟ ดำเนินการสอนลูกหลานของคนงาน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1919 เป็นการศึกษาระดับประถม ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้ขยายแนวคิดมาในระดับอนุบาล จนบัดนี้กว่า 90 ปีแล้ว การศึกษาวอลดอร์ฟ ทั้งระดับประถมและอนุบาลได้แผ่ขยายไปทั่วโลก

การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีลักษณะอย่างไร

  • ความเข้าใจของครูผู้สอน
     (Waldorf Early Childhood teacher training) อยู่อย่างต่อเนื่อง ครูและผู้ปกครองที่สนใจสามารถลงคอร์สเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กทุกฝ่าย มีโอกาสพัฒนาตนให้มีความรู้ความสามารถตามแนวทางของมนุษยปรัชญา เข้าใจธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติวัยเด็ก การศึกษาแนววอลดอร์ฟฝึกฝนทักษะ 
  • ทักษะศิลปะของครูผู้สอน
       ชีวิตโดยเฉพาะด้านศิลปะ ความเข้าใจเรื่องสี ฝึกหัดการวาดภาพระบายสี งานปั้น งานหัตถกรรมเย็บปักถักทอ การจัดดอกไม้ ตลอดจนงานในชีวิตประวัน เช่น งานบ้าน งานครัว งานสวน ฯลฯ เพื่อขัดเกลายก ระดับจิตใจตนเองไปสู่ความละเอียดประณีต บรรลุสู่คุณธรรม ความดี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการงานและชีวิตของตนเอง
  • การจัดประสบการการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในแนววอลดอร์ฟ
  • หลักสูตรและกิจกรรม จัดให้มีความเชื่อมโยงกัน ทั้ง 3 มิติ คือ
    • รอบปี (ฤดู เทศกาล วัฒนธรรม)
    • รอบสัปดาห์ (วิถีชีวิตของคนในชุมชน สังคม ครอบครัว)
    • รอบวัน (จังหวะชีวิตในหนึ่งวัน)
 
  • ธรรมชาติการเรียนรู้ในวัยเด็ก
       เด็กเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ โดยมีครูทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง (Imitation) การงานในชีวิตประจำวัน ครูจะลงมือทำงานต่างๆด้วยตัวเอง ได้แก่ งานบ้าน งานครัวและงานสวน เช่น การทำความสะอาดบ้าน การปรุงอาหาร และงานฝีมือหัตถกรรม งานทั้งหมดนี้มีพื้นฐานวิชาต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ฯลฯ ทั้งนี้ประสบการณ์ชีวิตที่ได้เรียนรู้ มีความเชื่อม โยงสอดคล้อง กับธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นและตัวเด็ก
    

การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร

        คนกล่าวว่า ณ วันแรกที่ตัดสินใจส่งลูกเข้าโรงเรียนวอลดอร์ฟ นั่นก็หมายความว่า เราได้ให้อิสระทางความคิดแก่ลูกไปแล้ว ดังนั้นประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการศึกษาแนววอลดอร์ฟจึงมีดังนี้
  • เด็กมีอิสระ พัฒนาตนเต็มศักยภาพที่ตนมี
  • เด็กมีความคิดแยบคาย สดใส มีพลังและสร้างสรรค์
  • เด็กมีความเมตตา กล้าหาญ ใฝ่รู้ เอื้ออาทร
     
      การศึกษาแนววอลดอร์ฟไม่ได้วัดความสำเร็จของการศึกษาจากผลการเรียนรู้ แต่มุ่งดึงศักยภาพ ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวเด็กแต่ละคนให้แสดงออกมา ทำให้เด็กค้นพบพลัง ความกระตือรือร้น และปัญญาที่ตนเองมีอยู่ เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพสูงสุดของตัวเขาเอง

สถานศึกษาใดที่จัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟ

  • โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก ตั้งอยู่ที่ 29 ซอยแสงจันทร์ ถนนสุขุมวิท 40 กทม.
  • ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์วัดศิริพงศ์ธรรมนิมิต หรือบ้านเรียนแห่งรักและศานติ ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา 55 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กทม.
  • บ้านเรียนณศิลป์ ตั้งอยู่ที่ 561 ถนนรื่นรมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
  • อนุบาลฟ้ากว้าง จังหวัดเชียงใหม่
  • อนุบาลบ้านกอก จังหวัดขอนแก่น
  • อนุบาลบ้านหนองขาม จังหวัดราชบุรี
  • โรงเรียนปัญโญทัยและโรงเรียนไตรทักษะ กทม. ที่เปิดสอนทั้งระดับประถมและอนุบาล
  •  
















       



      กลุ่มที่ 3 การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ  (Project Approach)
       

      การสอนแบบโครงการคืออะไร

              การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

      ที่มาการสอนแบบโครงการ

              การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการได้เริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่ 19-20 เป็นความคิดริเริ่มของ William Heard Kilpatrick นักการศึกษาอเมริกัน ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของ John Dewey ที่สนับสนุนให้สร้างประสบการณ์ทางการศึกษาเพื่อช่วยให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชน นำมาประยุกต์ สอนเด็กถึงวิธีการใช้โครงการที่เกี่ยวกับประสบการณ์จริงให้เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษามากกว่าการเตรียมเด็กเพื่ออนาคต ในช่วงปี ค.ศ. 1934 Lucy Sprague Mitchell นักการศึกษาจาก The Bank Street College Of Education นครนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อมและสอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการ ซึ่งเป็นวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทมีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนแบบโครงการ ผลการทดลองใช้พบว่า เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการวางแผนทำงานร่วมกัน ได้ตัดสินใจและเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการเรียน ผลการเรียนรู้ส่งเสริมศักยภาพของเด็กทุกด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน Villa Cella ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ห่างจากตัวเมือง Reggio Emilia 2-3 ไมล์ แม่บ้านกลุ่มหนึ่งร่วมมือกับ Malaguzzi นักการศึกษา และกลุ่มผู้ปกครองจัดการศึกษาให้เหมาะกับเด็กที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางบ้านเรือนปรักหักพังเพราะผลจากสงครามโลก และทำการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี บทความ งานวิจัย ข้อคิดเห็นจากศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทดลองปฏิบัติ แล้ววิเคราะห์ สะท้อนผลการปฏิบัติ ทำการปรับปรุงจนได้แนวคิดและการปฏิบัติในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และประสบผลสำเร็จจนเป็นที่รู้จักในกลุ่มยุโรปอเมริกาเหนือ และอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 Reggio Emilia ได้กลายเป็นชื่อของแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย และ การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกจากงานของโครงการ (Projects) เป็นกิจกรรมการสอนที่ โดดเด่นในโรงเรียนตามแนวคิด Reggio Emilia การจัดประสบการณ์แบบโครงการได้รับการพัฒนารูปแบบให้ชัดเจนขึ้นโดย Katz ชาวอเมริกา และ Chard ชาวแคนาดา ที่ได้ไปศึกษาดูงานการเรียนการสอน Project Approach จากโรงเรียนก่อนประถมศึกษาในเมือง Reggio Emilia ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี และทั้งสองก็ได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อว่า Engaging Children , s Mind : The Project Approach ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ได้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แบบโครงการในระยะต่อมา
      สำหรับประเทศไทยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางการศึกษาได้จัดหลักสูตรที่กำหนดรายวิชา นวัตกรรมการศึกษา โดยให้นักศึกษาเรียนและทดลองจัดการสอนแบบโครงการให้แก่เด็กปฐมวัยเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติ ตลอดจนศึกษาวิจัยในหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ส่วนสถานศึกษาระดับปฐม วัยทั้งภาครัฐและเอกชนสนใจนำนวัตกรรมการสอนแบบโครงการไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

      การสอนแบบโครงการมีลักษณะอย่างไร

      การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
      • ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
      • วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
        • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
        • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
        • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
        • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
      • มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
      • กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
      • เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
      • ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน

      การสอนแบบโครงการมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร

      การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้
      • เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
      • ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
      • เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
      • เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
      • เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้
      • ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
      • สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
      • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ

      สถานศึกษาใดที่จัดการสอนแบบโครงการ

      • โรงเรียนเกษมพิทยา กรุงเทพมหานคร
      • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช)
      กลุ่มที่ 4 การจัดการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence Theory) 
              พหุปัญญา (Multiple Intelligences) หมายถึง ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์ ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า สามารถแสดงศักยภาพด้านใดออกมาบ้าง เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความฉลาดให้เด็กในแต่ละด้านคือ ทำพื้นฐานการเรียนรู้ จดจำ และเข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสที่ครบทั้ง 6 ช่องทาง ทั้งนี้ ผู้ใหญ่จำนวนมากเข้าใจว่า เด็กเรียนรู้ผ่านตา (เห็นภาพ รูปทรง สี ตำแหน่ง ตัวหนังสือ ฯลฯ) กับหู (ได้ยินเสียง รับคลื่น ฯลฯ) เท่านั้น จึงมักสอนลูกๆด้วยการชี้ชวนให้ดู สั่งสอนอบรม (คือพูดให้ฟัง หรือ ปล่อยให้ดูทีวี ดูรายการสารคดี หรืออ่านหนังสือ ฯลฯ) และมักละเลยการจัดประสบการณ์ที่จะให้ได้ครบทั้ง 6 ช่องทาง คือ การดมกลิ่น การรับรส การรับความรู้สึก อุณหภูมิ รับสัมผัสผ่านผิวหนังทุกส่วนทั่วร่างกาย และความรู้ สึกภายใน (ตื่นเต้น ชอบ ไม่ชอบ กลัว วูบวาบ) หากเราจัดประสบการณ์ให้เด็กไม่ครบ การเรียนรู้ก็ขาดวิ่น เสมือนเราแต่งตัวให้เด็กแค่ใส่เสื้อกับกางเกง แต่ขาดรองเท้า ถุงเท้า หมวก ฯลฯ อยากให้ลูกดูสวย น่ารัก เตะตาคนอื่น แต่เราให้ความสนใจเพียงบางเรื่อง ที่เหลือให้ลูกไปคลำทางเอาเอง แล้วเราก็ตั้งความหวังว่าลูกเราจะเก่งเมื่อโตขึ้น พอไปโรงเรียนก็พบว่า ทำไมไม่เก่งอย่างใจเราปรารถนา ก็ส่งไปกวดวิชา ซึ่งก็สายไปแล้ว เพราะเลยเวลาที่สำคัญในชีวิตที่จะปูพื้นฐานแล้ว ไปกวดวิชา ครูกวดวิชาก็สอนได้เฉพาะวิธีทำข้อสอบ ให้สอบเข้าได้ แล้วโตขึ้นจะเป็นอย่างไร ในเมื่อทักษะสำคัญหลายๆด้านไม่ได้รับการพัฒนาตั้งแต่เล็ก เลยเวลาพัฒนาก็จะซ่อมสร้างใหม่ได้ยาก















      กลุ่มที่ 3 การจัดการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา


      พหุปัญญาคืออะไร

          พหุปัญญา หรือความฉลาด ในทัศนะของ Dr.Howard Gardner ซึ่งเป็นผู้เสนอคำนี้ขึ้นมา หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่จะค้นหาปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหา รวมไปถึงความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองหรือรับใช้สังคมของตน เขาต้องการแสดงให้เห็นอย่างเจาะจง และกระตุ้นเตือนผู้ใหญ่ โดยเฉพาะครูว่า เด็กแต่ละคนมีปัญญาหรือความฉลาดหลายด้าน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องค้นหา เพื่อสามารถช่วยกระตุ้น หรือจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน โดยการจำ แนกความฉลาดของมนุษย์ออกได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งต่อมาได้เพิ่มเข้าไปอีก 2 ด้าน รวมเป็น 9 ด้าน (ซึ่งในอนาคตก็อาจเพิ่มเติมเข้าไปได้อีก เมื่อมีองค์ความรู้มากขึ้น) ประกอบด้วย

      •  Visual/Spatial Intelligence ความฉลาดที่จะเรียนรู้ด้วยการมองเห็นภาพ/มิติ เก็บข้อมูลจากการมองเห็นจนเกิดความ คิดในเชิงมิติ และปรากฏภาพในสมอง และจดจำภาพเหล่านั้นเป็นข้อมูลไว้ใช้ต่อไป เด็กกลุ่มนี้มักจะชอบเรียนรู้ด้วยแผนที่ ตา ราง แผนภูมิ กราฟ รูปภาพ วิดิทัศน์ และภาพยนตร์ ให้ความสำคัญกับความเข้าใจที่จะนำไปสู่การลงมือกระทำ เป็นทักษะที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ บันทึกไว้ในสมอง เกิดภาพในใจ จนสามารถคิดค้นสิ่งต่างๆ หรือแก้ไขปัญหา ทักษะของเด็กที่เก่งด้านนี้ อา ทิ ต่อภาพปริศนา การอ่าน เขียน และทำความเข้าใจแผนภูมิ กราฟ และเก่งเรื่องทิศทาง สเก็ตภาพ วาดเขียน รวมไปถึงการออก แบบภาพมิติต่างๆ หรือจัดการภาพได้ดี โตขึ้นมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพบางอย่างได้ดี เช่น ผู้นำทาง/ออกแบบการนำทาง ศิล ปินภาพปั้น สถาปัตย์ นักออกแบบภายใน วิศวกร ฯลฯ
      • Verbal/Linguistic Intelligence ความฉลาดที่จะเรียนรู้ด้วยการฟัง พูด และใช้ภาษา และมีทักษะในการฟัง อ่าน เขียน ใช้คำ เด็กพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดได้ดี ความคิดมักจะออกมาเป็นคำพูดมากกว่าเป็นภาพ เก่งที่จะเล่าเรื่อง อธิบาย สอน พูดขำขัน เข้าใจความหมายในคำพูดได้ดี จดจำข้อมูล พูดชักจูงโน้มน้าวคนอื่น อธิบายวิเคราะห์การใช้คำพูด ซึ่งเมื่อโตขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำอาชีพต่อไปนี้ อาทิเช่น นักประพันธ์ นักการสื่อสาร (เขียนข่าว บทความ) ครู นักกฎหมาย นักการเมือง นักแปล ฯลฯ
      • Logical/Mathematical Intelligence ความฉลาดที่จะเรียนรู้ด้วยเหตุผล ตรรกะ และตัวเลข เด็กมักคิดเป็นระบบ หรือ เรียงลำดับตามเหตุการณ์ ตามอันดับตัวเลข เก่งที่จะเชื่อมโยงข้อมูลชิ้นส่วนต่างๆเข้าเป็นภาพใหญ่ มักกระตือรือร้นสนใจสิ่งรอบ ตัวเสมอๆ มักชอบถามคำถามและชอบทดลองเพื่อให้ได้คำตอบ มีทักษะในการแก้ปัญหา จัดลำดับหรือจัดกลุ่มข้อมูล เชื่อมโยงความคิดเชิงนามธรรม และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน สามารถจัดการกับเหตุผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ได้ยาวๆ และเห็นความก้าวหน้าของมัน สามารถทำวิจัยได้ดี มักถามคำถามเรื่องธรรมชาติรอบตัว อีกทั้งยังมีทักษะด้านการคำ นวณ และรูปทรงเรขาคณิต เมื่อโตขึ้น มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพบางอย่างได้ดี คือ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักวิจัย นักบัญชี นักคณิตศาสตร์ ฯลฯ
      • Bodily/Kinesthetic Intelligence ความฉลาดที่จะควบคุมร่างกาย การเคลื่อนไหว และจัดการงานต่างๆได้ดี มักแสดงตัวตนด้วยการเคลื่อนไหว มีทักษะในการใช้สายตาร่วมกับการใช้มือ เช่น เล่นบอลได้ดี หรือ ยิงเป้าได้แม่น ด้วยทักษะในการจัด การสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้สามารถจดจำและจัดระบบข้อมูลสิ่งรอบตัวได้ดี ซึ่งทำให้มีทักษะในการเต้นรำ ควบคุมสมดุลร่าง กาย กีฬา การทดลอง ใช้ภาษากาย ศิลปะ การแสดง เลียนแบบ ใช้มือในการสร้างสรรค์หรือสร้างสิ่งต่างๆ แสดงอารมณ์ด้วยภาษากาย และมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพบางอย่างได้ดี อาทิ นักเต้นรำ นักกีฬา ครูสอนพลศึกษา นักแสดง นักผจญเพลิง ช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ ฯลฯ
      • Musical/Rhythmic Intelligence ความฉลาดที่จะสร้างและดื่มด่ำกับสุนทรีย์ทางดนตรี ทำให้เด็กกลุ่มนี้มักคิดเป็นเสียง จังหวะ และ รูปแบบ (คล้ายกับการเล่นดนตรี แบบที่วงดนตรีเล่นร่วมกันเป็นเพลง) มักตอบสนองต่อเสียงดนตรี ทั้งด้านความชื่นชมหรือวิพากษ์วิจารณ์ เด็กกลุ่มนี้จะไวมากกับเสียงที่อยู่รอบตัว เช่น เสียงกระดิ่ง น้ำหยด ทำให้มีทักษะในการร้องเพลง ผิวปาก เล่นเครื่องดนตรี จดจำจังหวะและแบบแผนของเสียง ประพันธ์เพลง จดจำท่วงทำนองเสนาะ และเข้าใจโครงสร้างและจังหวะของดนตรี จึงมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพเหล่านี้ คือ นักดนตรี ดีเจ นักร้อง นักแต่งเพลง ฯลฯ
      • Interpersonal Intelligence ความฉลาดที่จะสร้างความสัมพันธ์และเข้าใจผู้อื่น มักจะมองสิ่งต่างๆด้วยมุมมองของคนอื่นๆรอบตัว เพื่อให้เข้าใจว่าคนอื่นๆคิดอย่างไรและรู้สึกอย่างไร มีทักษะในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก แรงบันดาลใจ และ แรงกระตุ้นของผู้คน เป็นนักจัดการแม้บางครั้งอาจจะดูว่าเจ้ากี้เจ้าการไปบ้าง แต่ก็เพื่อให้เกิดความสงบสันติในกลุ่ม และทำให้เกิดความร่วมมือกัน โดยใช้ทั้งภาษาพูดและภาษากาย เช่น การสบตา การเอียง/โน้มตัว ยิ้ม เพื่อสร้างสัมพันธ์ให้สื่อสารกันได้ มีทัก ษะในการฟังและเข้าใจคนอื่น ใช้ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก ในการให้คำปรึกษาหรือประสานงานในกลุ่ม จะคอยตรวจสอบอารมณ์ของกลุ่ม แรงบันดาลใจและความตั้งใจ ใช้การสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษากาย สร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มได้ดี เป็นนักประสานและแก้ไขความขัดแจ้ง ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในระหว่างผู้คน คนกลุ่มนี้มักจะประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ดี คือ นักจิตวิทยา Counselor นักการเมือง นักธุรกิจ นักเจรจาต่อรอง ฯลฯ
      • Intrapersonal Intelligence ความฉลาดในการเข้าใจตนเอง สื่อสารกับตนเอง โดยเฉพาะการมีสติกับภาวะภายในของตน พยายามที่จะเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกภายใน ความฝัน สัมพันธภาพกับผู้อื่น เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตน สะท้อนและวิ เคราะห์ตนเอง เข้าใจแรงปรารถนาและความใฝ่ฝันของตน วิเคราะห์แบบแผนการคิดของตน ให้เหตุผลกับตน เข้าใจบทบาทหน้า ที่และสัมพันธภาพกับคนอื่น เมื่อโตขึ้นมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพเหล่านี้คือ นักวิจัย นักคิด/ปราชญ์ นักปรัชญา
      • Naturalistic Intelligence ความฉลาดในการเรียนรู้สิ่งต่างๆในธรรมชาติรอบตัว แยกแยะความเป็นจริง/ลักษณะร่วมหรือแตกต่างของสิ่งรอบตัว จัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนหรือต่างกัน ด้วยแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล มองเห็นลำดับชั้นของความเชื่อมโยงในธรรมชาติ จัดแบบแผนความคิดของตน ด้วยการจัดกลุ่ม จัดอันดับชั้นของความจำต่อสิ่งรอบตัว จึงมีทักษะในการจัดระบบคิดภายในตัวเอง แสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและเข้าใจธรรมชาติรอบตัว จดจำแยกแยะรายละเอียด สนุกกับการแจงนับและจัดระ บบสิ่งต่างๆรอบตัว ชอบที่จะใช้กราฟ แผนภูมิ ตาราง และลำดับเวลา โตขึ้นมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ดี เช่น นักธรณีวิทยา นักมานุษยวิทยา นักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร นักปศุสัตว์ นักปรุงอาหาร ฯลฯ
      • Existential Intelligence ความฉลาดในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้ากับภาพใหญ่ (มหภาค) จนเห็นความงดงามของสรรพสิ่งในโลก เชื่อมโยงการดำรงอยู่ของมนุษย์และตนเองกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น จักรวาล พระเจ้า ความดีงาม สามารถรวบรวมสรุปรายละเอียด แล้วทำให้เกิดความเข้าใจถึงสิ่งที่ใหญ่กว่า เห็นคุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์ เห็นความงดงามของศิลปะ คุณธรรมบารมี และมีแนวโน้มที่จะใส่ใจกับการค้นหาความหมายในชีวิต พยายามมองหาความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้สาขาย่อยๆเข้าเป็นภาพใหญ่ สนใจและชื่นชมกับวรรณคดี เรื่องเล่า อัตประวัติของคนต่างวัฒนธรรม รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับครอบครัวและเพื่อนๆ รวมไปถึงชุมชน และขยายไปถึงชุมชนโลก ชอบเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมและการเมือง ใส่ใจกับสุขภา วะของตน ที่จริงอาจเชื่อมโยงไปถึง “ปัญญาญาณ” ในศาสนาพุทธและการพัฒนาด้านจิตวิญญาณอื่นๆ

      ที่มาพหุปัญญา

       

              Dr.Howard Gardner เขียนเรื่อง พหุปัญญา เป็นครั้งแรกในหนังสือชื่อ Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences ตี พิมพ์ในปี 1983 โดยที่เขาได้ผสมผสานองค์ความรู้ทางการแพทย์ เข้ากับจิตวิทยาพัฒนาการ โดยมีพื้นฐานสำคัญมาจากองค์ความ รู้จากการวิจัยด้านการแพทย์ โดยเฉพาะด้านสมองและการเรียนรู้ ยาวนานมากว่า 100 ปี ซึ่งนักวิจัยค้นพบว่า สมองแต่ละส่วนจะควบคุมความฉลาดแต่ละด้าน และมีหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันสิ่งสำคัญที่สุดซึ่ง Dr.Howard Gardner ย้ำเสมอคือ
      • ทุกคนมีความฉลาดทุกด้าน
      • ความฉลาดแต่ละด้านไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาด แต่หากผสมผสานรวมกันเป็นบุคลิกภาพของเรา
      • ทฤษฎีพหุปัญญา ไม่ได้นำเสนอเพื่อแบ่งแยก หรือจัดอันดับว่าใครฉลาดกว่ากัน แต่ที่จริง เพื่อให้ทุกคนในสังคมสามารถใช้ความฉลาดที่ตนถนัด เอื้อประโยชน์ให้แก่สังคมของตนอย่างเต็มความสามารถ

       การจัดกิจกรรมพหุปัญญามีลักษณะอย่างไร

      ครูจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญาแต่ละด้านให้เด็ก ดังนี้

      • Visual/Spatial Intelligence ได้แก่ การให้เด็กเคลื่อนไหวอิสระในบริเวณที่เรียนรู้ หัดให้ร่างภาพก่อนจะเข้าสู่บทเรียน ฝึกเขียนแผนที่ แผนภาพ ฝึกการระดมความคิด จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการใช้ตา ฝึกการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ ฝึกการรวบ รวมข้อมูล จากการมองเห็นเข้าเป็นการคิดเป็นระบบ
      • Verbal/Linguistic Intelligence ได้แก่ การฝึกค้นคว้าคำศัพท์ใหม่ๆ เรียนรู้คำศัพท์ในภาษาอื่นๆ ฝึกให้นำเสนอหน้าชั้นเรียน โต้วาที อภิปราย แทรกบทละคร การแสดงเข้ามาในบทเรียน หัดเขียนบันทึกประจำวันอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นให้ฝึกเขียนบทความสร้างสรรค์ ฝึกให้เล่าเรื่อง หัดอ่านวรรณกรรมเด็กและเยาวชน
      • Logical/Mathematical Intelligence ได้แก่ การฝึกจัดลำดับกิจกรรม การฟังคำสั่ง นำเสนอ “คำจำกัดความ หรือ ข้อตก ลง” ก่อนจะเข้าสู่กิจกรรมในบทเรียน จัดให้มีคำถามปลายเปิดอยู่ในกระบวนการแก้ปัญหา ส่งเสริมการทดลองซึ่งเด็กๆจะสามารถทดสอบสมมติฐานได้ หัดให้ใช้เหตุผล หรือ การอนุมานในการนำเสนอ ฝึกให้มีการโต้แย้งในชั้นเรียน หัดแก้ปัญหาเกม puzzles ให้เด็กฝึกกำหนดเป้าหมายระยะสั้นของการเรียนรู้ของตนและกลุ่ม ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผล

      สถานศึกษาใดที่จัดกิจกรรมส่งเสริมพหุปัญญา

      • โรงเรียนกสิณธรเซนต์ปีเตอร์ 110 หมู่ 6 ซอย 24/8 ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
      • โรงเรียนอนุบาลจุติพร 59/229 เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
















      กลุ่มที่ 5 การจัดการเรียนการสอนแบบ STEM


      ควมหมย แนวคิดและลักษณะของ STEM Education

          STEM Education คือการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่าง ศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่าง ลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขาร่วมมือกัน เพราะในการทํางานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความ รู้หลายด้านในการทํางานทั้ งสิ้ นไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ นอกจากนี้ STEM Education ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ทักษะสําคัญในโลกโลกาภิวัตน์หรือทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
       STEM Education เป็นการจัดการศึกษาที่มี แนวคิด และลักษณะดังนี้
           1. เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) นั่นคือเป็นการบูรณาการ ระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรมศาสตร์ (E) และ คณิตศาสตร์ (M) ทั้งนี้ได้นำจุด เด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามา ผสมผสานกันอย่างลงตัว กล่าวคือ
      • วิทยาศาสตร์ (S) เน้นเกี่ยวกับความเข้าใจใน ธรรมชาติ โดยนักการศึกษามักชี้แนะให้อาจารย์ ครูผู้สอนใช้ วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry-based Science Teaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เหมาะกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เพราะทำให้ผู้เรียนเบื่อ หน่ายและไม่สนใจ แต่การสอนวิทยาศาสตร์ใน STEM Education จะทำให้นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้น รู้สึก ท้าทายและเกิ ดความมั่ นใจในการเรี ยน ส่งผลให้ผู้เรี ยนสนใจที่ จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและประสบ ความสำเร็จในการเรียน
      • เทคโนโลยี (T) เป็นวิชาที่เกี่ยวกับกระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่างๆ หรือกระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราโดยผ่านกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกระบวนการสืบเสาะ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิได้หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือ ICT ตามที่คนส่วน ใหญ่เข้าใจ วิศวกรรมศาสตร์ (E)เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิด สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมต่างๆให้กับนิสิตนักศึกษาโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นวิชาที่สามารถเรียนได้แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่เด็กอนุบาลก็สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
      • คณิตศาสตร์ (M) เป็นวิชาที่มิได้หมายถึงการนับ จำนวนเท่านั้น แต่เกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นที่สำคัญประการแรกคือกระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่ งได้แก่การเปรี ยบเที ยบ การจำแนก/จัดกลุ่มการ จัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติ ประการที่สอง ภาษาคณิตศาสตร์ เด็กจะสามารถถ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ประการต่อมาคือการส่งเสริมการคิด คณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking) จาก กิจกรรมการเล่นของเด็กหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
             2. เป็นการบูรณาการที่สามารถจัดสอนได้ในทุกระดับ ชั้น ตั้งแต่ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลายโดยพบว่าใน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดเป็นนโยบายทางการศึกษาให้ แต่ละรัฐนำ STEM Education มาใช้ ผลจากการศึกษาพบว่า ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบ Project-based Learning, Problem-based Learning, Design-based Learning ทำให้ นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาชิ้นงานได้ดี และถ้าครูผู้ สอนสามารถใช้ STEM Education ในการสอนได้เร็วเท่าใดก็ จะยิ่ งเพิ่ มความสามารถและศั กยภาพผู้เรี ยนได้มากขึ้ นเท่านั้ นซึ่งในขณะนี้ในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำ STEM Education ไปสอนตั้งแต่ระดับวัยก่อนเรียน (Preschool) ด้วย
      นอกจาก STEM Education จะเป็นการบูรณาการ ศาสตร์ทั้ง 4 สาขาดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการบูรณาการ ด้านบริบท (Context Integration) ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การสอนนั้นมีความหมายต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการเรียนนั้นๆ และสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการทำงาน การเพิ่มมูลค่า และสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ ด้านเศรษฐกิจได้

        
               3.เป็นการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวการพัฒนาคนให้มี คุณภาพในศตวรรษที่ 21 เช่น

      • ด้านปัญญา ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชา
      • ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิด สร้างสรรค์ ฯลฯ
      • ด้านคุณลักษณะผู้เรียนมีทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเป็นผู้นำตลอดจนการ น้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น
       
              จากแนวคิดข้างต้นนักการศึกษาก็ยังได้มีบูรณาการศาสตร์อื่นประกอบเพื่อให้การจัดการศึกษา STEM Education นั้นครอบคลุมและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริงแบบรอบด้าน เช่น การจัดการศึกษา STEAM Education ที่มีการบูรณาการ ศิลปะ (A) ทำให้ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสถ่ายทอดหรือประยุกต์ใช้แนวคิดสำคัญ (Concept) ด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการยิ่งขึ้ นผู้เรียนยังสามารถสื่อสารความคิดของตนเอง ในรูปแบบของดนตรีและการเคลื่อนไหว การสื่อสารด้วยภาษา ท่าทางหรือการวาดภาพ หรือการสร้างโมเดลจำลอง ทำให้ชิ้นงานนั้นๆ มีองค์ประกอบด้านความสุนทรีย์ และความสวยงาม เพิ่มขึ้น เกิดเป็นชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์ทั้งการใช้งานและ ความสวยงาม (ยศวีร์ สายฟ้า, 2555) การจัดการศึกษา STE2AM Education ที่เน้นเพิ่มเติมให้ผู้เรียนตระหนักเกี่ยว คุณธรรม จริยธรรม (Ethics: E2) ที่เป็นองค์ประกอบส่วน สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เป็นคนดี







       กลุ่มที่ 6 การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL (Brain - Based Learning)
             Brain Based Learning คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์  โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี  Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก  ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่มีความสัมพันธ์กับสมองไว้ดังนี้
      1. สมองเป็นกระบวนการคู่ขนานสมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา  เพราะการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ได้นั้นจะต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของ
      การรับรู้  รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส  ได้แก่  ตาทำให้เห็น  หูทำให้ได้ยิน  จมูกทำให้ได้กลิ่น  ลิ้นทำให้ได้รับรส  และผิวกายทำให้เกิดการสัมผัส
      2. สมองกับการเรียนรู้สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว  แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการ
      พัฒนาของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย  ซึ่งจะรวมถึงการคิด  การเรียนรู้  การจำ  และพฤติกรรมของมนุษย์  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนควรจะมีความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานและการพัฒนาของสมอง  เพื่อจะได้วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่กระตุ้นให้สมองคิดและทำงานแบบท้าทาย  ยั่วยุมากที่สุด  ผู้เรียนได้คิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในทุกด้าน  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดและเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ  เป็นรากฐานไปสู่การเป็นคนดี  คนเก่งและมีความสุขในการดำรงชีวิตและเมื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นเยาวชนพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป
      3.  การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด              ในการเรียนรู้ของบุคคลเรานั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีชีวิต  และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้นจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองหรือเป็นการเรียนรู้โดยประสบการณ์ตรง
      4.  รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่ง ๆ มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของตน  ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกรูปแบบอย่างเสมอภาคกัน  เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานและเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด  รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ  ที่ตนไม่ถนัดอีกด้วย
      5.  ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ความสามารถพิเศษของมนุษย์  แบ่งออกเป็น  8  ด้านด้วยกัน  มนุษย์ย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล  แต่ละคนมักจะมีความเก่งไม่เหมือนกัน  ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการพัฒนาตนเอง  โดยเริ่มจากรู้จักตนเอง  รู้จุดเด่น  จุดด้อย  ค้นหาวิธีการพัฒนาความเก่งให้แก่ตนเองที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
      6.  สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ สมองของคนเราแบ่งออกเป็น  2  ซีก  คือซีกซ้ายกับซีกขวา  สมองทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน  สมองมีหน้าที่  ควบคุมการรับรู้  การคิด  การเรียนรู้และการจำ  ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย  และควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรม
      7.  การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสมองจะซึมซับข้อมูลที่บุคคลมีความสนในเรื่องนั้นอยู่แล้ว  เชื่อมโยงกับข้อมูลความรู้ใหม่  ประสานข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน  ซึ่งหมายความว่า  การเรียนรู้ของมนุษย์จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมของผู้เรียนกับการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง
      8.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งในแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ การเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่มักเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ  สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในสถานการณ์จริง  เช่น  ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่โดยไม่ได้คิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อน  โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคลในการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
      9.  การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจ  และให้ความหมายกับสิ่งที่รับรู้มา  มีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง  สอน/แนะนำบนพื้นฐานความรู้  ประสบการณ์และทักษะที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน
      10.  การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ภาษาแรกของมนุษย์เราถูกเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย  ด้วยคำศัพท์และไวยกรณ์  ถูกเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ภายในของบุคคลที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก  การเรียนรู้คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้เซลล์สมองจะเกิดมีการเชื่อมต่ออย่างสูงสุด  เมื่อถูกกระตุ้นให้เผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้  โดยผ่านกระบวนการเล่นอย่างสนุกสนาน  และมีความสุข  ปราศจากความเครียด  เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่บั่นทอนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกันมนุษย์ทุกคนมีระบบสมองที่เหมือนกัน  ถึงแม้ว่าทุกคนจะมีศักยภาพแตกต่างกันในด้านความรู้ความถนัดที่มีอยู่เดิม  ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละคน  แต่เราสามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน

      แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลัก BBL
                      1. การจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงและถาวรนั้น  จะต้องจัดให้ครบองค์ประกอบทั้ง  3   ส่วน  ได้แก่  การรับรู้  การบูรณาการความรู้  และการประยุกต์ใช้  เพื่อเป็นการเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติจริงในวิถีชีวิต
                      2. ครูผู้สอนจะต้องมีข้อมูล  และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  คิดและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด/ความสามารถหรือความเก่งให้เก่งมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ  อีกให้มีความเก่งหลาย ๆ ด้าน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือความเก่งสู่สาธารณชน  โดยอาจจัดเวทีให้แสดงอย่างอิสระ
                      3.การจัดการเรียนการสอนที่ดี  ครูต้องมีความเข้าใจทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก  สมองซีกซ้ายสั่งการทำงานเกี่ยวกับ  คำ  ภาษา  ตรรก  ตัวเลข/จำนวน  ลำดับ  ระบบ  การคิดวิเคราะห์  และการแสดงออกเป็นต้น   สมองซีกขวาจะสั่งการเกี่ยวกับ  จังหวะ  ดนตรี  ศิลปะ  จินตนาการ  การสร้างภาพ  การรับรู้  การเห็นภาพรวม  ความจำ  ความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น
                      4.ควรจัดเนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์  กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะ  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย  เช่น  เรียนรู้จากสื่อธรรมชาติ  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่  จากแหล่งงานอาชีพของชุมชน  จากการค้นคว้าทางเทคโนโลยี  ฯลฯ
                      5. ในกระบวนการเรียนรู้นั้น  ขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้นั้นอาจเป็นแค่การรับรู้  แต่ยังไม่เข้าใจ  ความเข้าใจอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันถึงสิ่งต่าง ๆ  ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย  ในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้  ซึ่งบางครั้งการสอนในชั้นเรียนเมื่อจบลงบางบทเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้  เนื่องจากการสอนนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
                      6. บางครั้งการจำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์  แต่การสอนที่เน้นการจำไม่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้และบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจ  ถ้าครูไม่ได้ศึกษาลีลารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละประเภท  ว่ามีความชื่นชอบ  ความถนัด  วิธีการเรียนรู้  หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ   และจัดกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละประเภท จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
                      7.ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน  ประกอบด้วย  การสาธิต  การทำโครงงาน  ทัศนศึกษา  การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง  การเล่าเรื่อง  ละคร  และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนหลาย ๆ ประเภท  การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือการเขียน
                      8.ควรสร้างสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อ  การเรียนรู้  โดยผ่านการเล่นแบบท้าทาย  การเสี่ยง  ความสนุกสนาน  เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้  การถูกทำโทษอันเนื่องมาจากความผิดพลาดจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้  ครูจึงไม่ควรลงโทษผู้เรียน
      ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์แวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้
                      9.ผู้เรียนมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา  ความสามารถความเก่งของมนุษย์  คือ  ทฤษฎีพหุปัญญา  ความเป็นคนเก่งคืออะไร  มีคำตอบมากมายหลายรูปแบบ  แต่สรุปรวมได้ว่า  คนเก่งคือผู้มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะด้าน  หรือหลาย ๆ ด้าน  ที่แสดงออกถึงความสามารถได้อย่างเป็นที่ประจักษ์
        แนวทางการเขียนแผนการสอน BBL
      1. อ่าน และศึกษาหลักสูตร ศึกษาหลักสูตรการเรียนรู้แบบ Brain-based Learning ระดับประถมศึกษา และหลักสูตรรายวิชาภาษาไทย
      2. ทำความเข้าใจหลักสูตร ในประเด็นต่อไปนี้
      2.1 สมองของเด็กวัยนี้ เรียนรู้อย่างไร
      2.2 สมองของเด็กวัยนี้ เรียนรู้วิชานั้น ๆ อย่างไร
      2.3 สาระหลัก ๆ ของวิชานั้น ในแต่ละระดับคืออะไร
      2.4 ทำความเข้าใจ ถึงกุญแจแห่งความสำเร็จในการเรียนรู้วิชานั้น ๆ
      2.5 Road map การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
      2.6 ทำความเข้าในลำดับขั้น ความก้าวหน้าของการเรียนรู้วิชานั้น ๆ
      3. กำหนดขอบเขตและเนื้อหาของการสอนวิชานั้น ๆ โดยใช้สาระหลัก ๆ ของวิชานั้นเป็นตัวตั้ง ซึ่งในหลักการจะอยู่บนพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ. 2544
      4. อ่านหนังสือที่ใช้สอนในวิชานั้น ๆ ได้แก่ ชุดหนังสืออ่านทุกเล่ม แบบเรียนภาษาพาเพลิน ระดับชั้นประถมศึกษา 1 และถ้าเป็นไปได้ ควรอ่านเล่มที่ใช้ในระดับประถมศึกษา 2 และ 3 ด้วย เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยง ของทั้งช่วงชั้น
      5. ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสืออื่น ๆ ร่วมด้วย
      6. กำหนดแผนการเรียน โดยแจกแจงหัวข้อที่สอนและกำหนดจำนวนคาบที่จะสอน ทั้งเทอม/ปี
      เพื่อให้เห็นภาพรวมของการเรียนวิชานั้น ๆ ตลอดเทอม/ปี
      7. เริ่มเขียนแผนการสอน โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนด
                       การประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมองนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากที่ครูผู้สอนจะต้องดำเนินการเพราะการเรียนรู้กับสมองเป็นการบูรณาการอย่างองค์รวมที่ไม่สามารถจะแยกส่วนของจากการได้











      สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
              ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆให้มีความสำเข้าใจมากขึ้นเพื่อนำไปต่อยอดในอนาคตได้
      การประเมินผล
      ประเมินตนเอง
                เข้าเรียนตรงต่อเวลาตั้งใจฟังเวลาเพื่อนนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  ตอนนำเสนองานหน้าชั้นเรียนตื่นเต้นกลัวจะทำไม่ได้สุดท้ายก็สมาราถทำได้ดิฉันมีส่วนที่ต้องปรัปรุงแก้ไขนิดหน่อยลดเรื่องความกังวลลงบ้าง
      ประเมินเพื่อน
               เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนองานออกมาดี มีความตั้งใจในการทำงานและตั้งใจฟังเวลาเพื่อนนำเสนองาน
      ประเมินอาจารย์
               อาจารย์จะคอยช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่แต่ละกลุ่มยังไม่มี อธิบายให้นักศึกษามีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
            
       
       

      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น