บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันจันทร์ ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559
เวลาเรียน 14.30 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้สอบสอนเคลื่อนไหวและจังหวะ(วันอังคาร) สอนเสริมประสบการณ์ (วันพุธ) อาจารย์จะคอยให้คำแนะนำในส่วนที่ต้องเพิ่มเติม
หน่วย ยานพาหนะ
เคลื่อนไหวตามคำบรรยายต้องเคาะจังหวะให้ถูกต้องถ้าจะได้เด็กเคลื่อนไหวแล้วเปลี่ยนท่าต้องเคาะสองครั้งให้เด็กหยุดก่อนแล้วค่อยบรรยายใหม่ เสริมประสบการณ์ต้องหาเกณฑ์ในการจำแนกให้ได้เพราะไม่อย่างนั้นจะเกิดความสับสนขึ้นได้
หน่วย ผัก
เคาะจังหวะได้ชัดเจน ควรเปลี่ยนรูปแบบการเดินบ้าง เช่น ควบม้า สคริป เป็นต้น เคลื่อนไหวไม่ต้องทำแผ่นชาร์ตเพลง เสริมประสบการณ์เวลานำผักมาให้เด็กดูแล้วเขียนลงในแผ่นชาร์ต ผักที่นำมาต้องมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน
หน่วย ผีเสื้อ
สอนเคลื่อนไหวและจังหวะไม่ต้องมีชาร์ตเพลง เพลงส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่เด็กสามารถร้องได้แล้ว สอนเสริมประสบการณ์ไม่ต้องนำผีเสื้อมาหลายชนิดเพราะเด็กไม่สามารถจำชื่อผีเสื้อได้ทั้งหมดยกมาประมาณ 2-3 ประเภทก็พอ
หน่วย ส้ม
กิจกรรมเคลื่อนไหวต้องมีกิจกรรมพื้นฐานด้วย เพื่อนเขียนแผนมาผิดอาจารย์ให้กลับไปแก้ไขมาใหม่ ให้ใช้ปากกาเขียนไม่ให้ใช้ดินสอเขียนแล้วให้ส่งส่งแผนทั้งหมดไม่ใช่ส่งทีละแผ่น
หน่วย เห็ด
กิจกรรมเคลื่อนไหวมีการให้เด็กได้เปลี่ยนทิศทาง เสริมประสบการณ์ต้องหาฟิวเจอร์บอร์ดมาเพิ่มไม่ให้ปักซ้อนกันเพราะจำทำให้งงและไม่เข้าใจได้
หน่วย กล้วย
กิจกรรมเคลื่อนไหวถ้าต้องการให้เด็กหยุดให้เคาะหยุดทันทีอย่าทิ้งจังหวะหนึ่งแล้วค่อยเคาะเด็กอาจจะเกิดความสับสนได้ เสริมประสบการณ์ต้องใช้สีเขียนชื่อให้ชัดเจนเพราะเด็กจะนับค่าได้ว่ากล้วยที่นำมาให้เเด็กดูมีกี่ชนิด และอะไรบ้าง
สิ่งที่อยากจะพัฒนา
ฝึกร้องเพลงและเคาะเครื่งเคาะจังหวะใหัถูกต้อง ฝึกการเขียนแผนบ่อยๆจะได้เกิดความชำนาญ
กาารประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้สอบสอนเป็นครั้งที่สองไม่ค่อยตื่นเต้นแล้ว สามารถทำได้แล้วเพราะลดการตื่นเต้นลงและเพิ่มความมั่นใจในการสอบสอนให้ความร่วมมือเป็นเด็ดให้เพื่อนกลุ่มอื่น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันพลัดกันออกมาเป็นเด็กให้เพื่อนกลุ่มอื่น ตั้งใจจดเวลาอาจารย์อธิบายเพิ่ม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์จะคอยแนะนำในส่วนที่นักศึกษาทำผิดจะบอกว่าต้องทำอย่างไหนถึงจะถูกต้องให้นักศึกษาปฎิบัตตอนขณะที่กำลังสอนเลยเหมือนเป็นการให้นักศึกษาเข้าใจในส่วนที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้องให้เข้าใจถูกและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในอนาคตได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น